วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กำเินิดแห่งศรัทธา สถานที่ท่องเที่ยวประวัติศาสตร์เมืองเชียงราย

วันที่สามของการเดินทางท่องเที่ยวที่เชียงราย ได้เก็บเกี่ยวบรรยากาศและประสบการณ์ชีวิตตามสถานที่ท่องเที่ยวสวยงามมากมายในเมืองเชียงราย ในการท่องเที่ยวครั้งนี้มีโอกาสได้ไปสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญทางประวัติศาสตร์แห่ง สถานที่แห่งนี้มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานและถือเป็นกำเนิดความศรัทธาของคนไทยในปัจจุบัน
สถานที่ท่องเที่ยว พระหยกเชียงราย
สถานที่ท่องเที่ยวที่นำมาบอกเล่าประสบการณ์ในวันนี้คือ วัดพระแก้วเมืองเชียงราย ซึ่งเดิมนั้นใช้ชื่อว่าวัดป่าเยียะ ที่แปลว่าป่าไผ่ชนิดหนึ่ง แต่ต่อมามีเหตุการณ์เหนือธรรมชาติเกิดขึ้นทำให้พบพระแก้วมรกตที่พระเจดีย์หลังอุโบสถ ชาวเมืองเชียงรายจึงเรียกชื่อวัดว่า วัดพระแก้วและใช้ชื่อนี้มาจนถึงปัจจุบัน

เดินทางมาถึง
สถานที่ท่องเที่ยวประวัติศาสตร์วัดพระแก้ว เชียงรายก็เข้าไปภายในวัด อาคารแรกที่พบทางซ้ายมือคือพระอุโบสถ(ดูรูปที่ 2) เป็นพระวิหารทรงเชียงแสน เมื่อเข้ามากราบพระภายในอุโบสถพบพระเจ้าล้านทอง ซึ่งเป็นพระพุทธรูปสำริด ปางมารวิชัย พระพุทธรูปองค์นี้ได้ชื่อว่าเป็นพระพุทธรูปในสกุลช่างศิลปปาละที่ใหญ่และสวยงามที่สุดในประเทศไทย

กราบพระเสร็จแล้วเดินใน
สถานที่ท่องเที่ยวนี้มาทางด้านหลังของอุโบสถพบพระเจดีย์ เป็นเจดีย์เก่าแก่อายุหลายร้อยปี เจดีย์แห่งนี้นี่เองที่เป็นสถานที่พบพระแก้วมรกตพระคู่บ้านคู่เมืองของไทยในปัจจุบัน โดยเหตุการณ์เหนือธรรมชาติที่ผมกล่าวเอาไว้ตอนต้นคืออยู่ ๆ ก็ได้เกิดเหตุการณ์ฟ้าผ่าพระเจดีย์จนพัง
ทลายลงและพบพระแก้วมรกตที่ถูกซ่อนไว้ภายในเจดีย์สภาพสมบูรณ์ไม่มีบุบสลายแต่อย่างใด หลายท่านอาจจะสงสัยว่าเหตุใดจึงต้องซ่อนพระแก้วมรกตเอาไว้ภายในเจดีย์ เพราะในสมัยนั้นจนปัจจุบันมีความเชื่อว่าหากพระแก้วมรกต ได้ไปประดิษฐานอยู่ ณ ที่ใด ที่นั้นก็จะมีแต่ความสุขเจริญรุ่งเรือง และในยุคสมัยโบราณที่ยังมีการสู้รบเพื่อแย่งชิงดินแดนกันอยู่จึงจำเป็นต้องซ่อนสิ่งศักดิ์สิทธิ์อันล้ำค่าให้อยู่คู่บ้านคู่เมืองเป็นอย่างดี





สถานที่ท่องเที่ยว พระเจดีย์วัดพระแก้ว
ประวัติของพระแก้วมรกตโดยย่อเท่าที่อ่านจากในวัดได้ใจความว่าพระแก้วมรกตได้ถูกสร้างขึ้นในประเทศอินเดียและจากการขนย้ายโดยเรือสำเภาได้เกิดอับปรางลงและลอยมาที่ฝั่งของประเทศกัมพูชา ซึ่งในสมัยนั้นเป็นอาณาจักรขอมโบราณ ต่อมาก็ได้ตกมาอยู่อาณาจักรอโยธยาโบราณ และช่วงที่มีศึกสงครามก็ได้ถูกอัญเชิญไปที่กำแพงเพชร หลังจากนั้นผู้ครองนครเชียงใหม่ต้องการอัญเชิญให้ไปประดิษฐานอยู่ที่เชียงใหม่ ขณะที่เดินทางกลับเชียงใหม่นั้นช้างกลับไม่เดินจึงจำต้องอัญเชิญพระแก้วมรกตให้ประดิษฐานที่ลำปาง ต่อมาเจ้าเมืองเชียงรายมีจิตเลื่อมใสศรัทธาจึงได้ไปทำพิธีอัญเชิญมาไว้ที่วัดพระแก้วเป็นเวลา 45 ปี ด้วยเหตุที่มีข้าศึกสงครามบ่อยจึงจำเป็นต้องซ่อนพระแก้วมรกตเอาไว้ในเจดีย์ แต่สุดท้ายก็เกิดเหตุการฟ้าผ่าอย่างที่ได้เล่าไปตอนต้น พระแก้วมรกตได้ถูกอัญเชิญมาที่ลำปางอีกครั้ง และจากลำปางได้ถูกอัญเชิญขึ้นเหนือไปประดิษฐานที่วัดเจดีย์หลวง จ. เชียงใหม่ เป็นเวลา 85 ปี ครั้งนั้นกรุงศรีอยุธยาต้องทำศึกกับพม่า จึงได้อัญเชิญพระแก้วมรกตไปไว้ที่เมืองเวียงจันทร์ประเทศลาวเป็นเวลายาวนานถึง 225 ปี ซึ่งในสมัยกรุงศรีอยุธยาประเทศลาวถือเป็นเมืองขึ้นของไทย จนกระทั่งเสียกรุงครั้งที่สองประเทศลาวได้แข็งเมือง ภายหลังพระเจ้าตากสินมหาราชได้กอบกู้เอกราชได้แล้ว จึงได้ไปตีเมืองเวียงจันทร์ให้กลับมาเป็นเมืองขึ้นเช่นเดิม และได้อัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานที่ประดิษฐานไว้ที่วิหารน้อยวัดอรุณราชวราราม กรุงธนบุรี พระแก้วมรกตจึงกลับสู่แผ่นดินไทยอีกครั้ง และภายหลังสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์จึงได้อัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานที่ี่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง และมีพระนามว่า "พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร" เป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของไทย เป็นศูนย์รวมจิตใจและความเลื่อมใสศรัทธาของคนไทยมาจนถึงปัจจุบัน
สถานที่ท่องเที่ยว โฮงหลวงแสนแก้ว

หลังจากเดินผ่านเจดีย์ด้านหลังอุโบสถผมก็เดินทางมาพบกับโฮงหลวงแสนแก้ว อาคารพิพิธภัณฑ์ซึ่งมีศิลปแบบล้านนาประยุกต์ ถายในนั้นมีการจัดแสดงพระพุทธรูปสำคัญ และศิลปล้ำค่าแบบโบราณมากมายก็เก็บภาพภายในสถานที่ท่องเที่ยวนี้มาฝากกันเหมือนเช่นเคย
สถานที่ท่องเที่ยว หอพระหยกเชียงราย

สุดท้ายหลังจากเที่ยวชมภายในโฮงหลวงแสนแก้วอยู่นานก็ออกมาด้านนอกและเดินไปทางด้านหลังสุดของวัดคือ หอพระหยก ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานของพระหยกเชียงราย หรือ "พระพุทธรัตนากร นวุติวัสสานุสรณ์มงคล" ที่สร้างขึ้นมาทดแทนพระแก้วมรกตให้เป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของเชียงราย ภายในหอพระหยกบนผนังอาคารเป็นจิตรกรรมผาผนังที่แสดงถึงตำนานของพระแก้วมรกตต่อเนื่องกันไป สามารถสื่อเรื่องราวได้ชัดเจนโดยไม่ต้องใช้ข้อความใด ๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น